ขายของออนไลน ต้องวางแผนภาษี
สำนักงานบัญชี หมื่นล้าน บิซิเนส
มีการถามเข้ามากันมากน่ะครับ เกี่ยวกับ การเสียภาษีของธุรกิจ ขายของ ออนไลน์ วันนี้ผมจะอธิบายการคำนวนภาษี ขายของออนไลน์ว่าคำนวนอย่างไร เพื่อนๆที่ขายของออนไลน์อยู่จะได้วางเเผนภาษีได้อย่างถูกต้องน่ะครับ เอาเเบบง่ายๆ อ่าน 10 นาทีเข้าใจ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า
อย่างที่ทราบกันน่ะครับว่าปีนี้ ทางสรรพากรจะเอาจริงเอาจังกับการเก็บภาษีขายของออนไลน์ โดยได้มีมาตรการให้ธนาคาร
การส่งข้อมูลจะดูยอดเงินที่เข้าบัญชี โดยดูทุกบัญชีในธนาคารนั้นๆ ซึ่งเงื่อนไขในการส่งข้อมูลมีอยู่ 2 กรณี คือ จำนวนครั้งตั้งแต่ 400 ครั้งและจำนวนเงินถึง 2 ล้านบาท (อันนี้ต้องมาทั้งสองกรณีพร้อมกัน คือ จำนวนครั้งถึง และจำนวนเงินถึงเกณฑ์)และอีกกรณีหนึ่ง คือ นับแค่จำนวนครั้ง ถ้าถึง 3,000 ครั้งเมื่อไร ถูกส่งทันทีโดยที่ไม่ต้องสนใจจำนวนเงิน (ป.ล.กฎหมายเรียกกรณีนี้ว่า ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ)
สรุปอีกที นั่นคือ เราจะถูกส่งข้อมูลก็ต่อเมื่อ
▶▶ ยอดเงินเข้า “ตั้งแต่” 400 ครั้งขึ้นไป และยอดรวม 2 ล้าน
▶▶ ยอดเงินเข้า “ตั้งแต่” 3,000 ครั้งขึ้นไป ไม่รวมจำนวนเงิน
1.2 ส่วนอีกวิธีจะคิด "แบบตามความจำเป็น" คือ นำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง จากการขายของออนไลน์มาหักออก ซึ่งใครอยากจะหักค่าใช้จ่ายด้วยวิธีนี้ จำเป็นต้องมีใบเสร็จ เอกสารแสดงรายได้ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ครบถ้วนด้วยนะ แต่ก็สร้างความยุ่งยากพอสมควร ดังนั้นพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์จึงมักเลือกจ่าย "แบบเหมา" มากกว่า
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการขายของออนไลน์ คิดได้ 2 แบบ คือ
- วิธีแรก (เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) * อัตราภาษี
- วิธีที่สอง เงินได้ * 0.5%
โดยเราจะคำนวณวิธีที่ 2 ก็ต่อเมื่อมีรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน เกิน 1 ล้านบาทต่อปี แล้วถึงมาเปรียบเทียบว่าระหว่างวิธีแรกกับวิธีที่สอง อันไหนได้ตัวเลขที่มากกว่า ก็ให้นำตัวเลขที่มากกว่านั้นไปยื่นเสียภาษี แต่ถ้ารายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนไม่ถึง 1 ล้านบาท คำนวณแค่วิธีแรกก็พอ แล้วนำตัวเลขนั้นไปยื่นเสียภาษีได้เลย
สมมติ นาย A มีรายได้จากการขายรองเท้าผ่านเฟซบุ๊ก 1,400,000 บาทต่อปี โดยที่ไม่มีรายได้จากงานประจำ
คำนวณแบบวิธีแรก : (เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) * อัตราภาษี
เงินได้ เท่ากับ 1,400,000 บาท
ค่าใช้จ่าย (60% ของรายได้ทั้งหมด) เท่ากับ 840,000
ค่าลดหย่อน สมมติ นาย A มีแค่ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
จะได้เป็น (1,400,000 - 840,000 - 60,000 ) * อัตราภาษี
จึงทำให้เหลือเงินได้สุทธิก่อนนำไปคำนวณภาษีเท่ากับ 500,000 บาท แล้วจึงนำไปคูณอัตราภาษี ตามฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กำหนดไว้
- รายได้ 0-150,000 บาท ยกเว้นอัตราภาษี
- รายได้ 150,001-300,000 บาท อัตราภาษี 5% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดในขั้นนี้ 7,500 บาท)
- รายได้ 300,001-500,000 บาท อัตราภาษี 10% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้ 20,000 บาท)
- รายได้ 500,001-750,000 บาท อัตราภาษี 15% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้ 37,500 บาท)
- รายได้ 750,001-1,000,000 บาท อัตราภาษี 20% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้ 50,000 บาท)
- รายได้ 1,000,001-2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้ 250,000 บาท)
- รายได้ 2,000,001-5,000,000 บาท อัตราภาษี 30% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้ 600,000 บาท)
- รายได้ 5,000,000 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%
ดังนั้น กรณีนาย A มีเงินได้สุทธิอยู่ที่ 500,000 บาท เท่ากับต้องเสียภาษีในอัตราสูงสุดที่ 10% ทำให้ต้องเสียภาษีอยู่ที่ (7,500 + 20,000) คิดเป็นเงินภาษีที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น 27,500 บาท
คำนวณแบบวิธีที่สอง : เงินได้ * 0.5%
เนื่องด้วยนาย A มีรายได้จากการขายรองเท้าเกิน 1 ล้านบาทต่อปี เลยต้องคิดแบบที่สองด้วย โดยจะคำนวณเงินเสียภาษีออกมาได้เท่ากับ 1,400,000 * 0.5% เท่ากับ 7,000 บาท
สรุปแล้วนาย A จะต้องเสียภาษีตามแบบที่คำนวณได้มากที่สุด นั่นคือวิธีแรกนั่นเอง ซึ่งต้องเสียภาษีทั้งหมด 27,500 บาท ส่วนภาษี VAT นั้น ไม่ต้องเสียเพราะมีรายได้จากการขายของผ่านเฟซบุ๊กไม่ถึง 1.8 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี ถ้าเราไม่ได้มีรายได้จากการขายของออนไลน์เพียงอย่างเดียว แต่มีรายได้จากส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น เงินเดือน ค่าจ้างทั่วไป หรือดอกเบี้ย เงินปันผลต่าง ๆ ก็จะต้องนำรายได้ส่วนนั้น ๆ มาคำนวณรวมกันด้วยนะ
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) : การเสีย VAT ที่ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่ 7% นั้น จะจัดเก็บกับพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์ที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น สำหรับใครที่รายได้ไม่ถึงก็สบายใจได้เลย
พ่อค้า-แม่ค้าที่ขายของออนไลน์ แล้วมีรายได้เกิดขึ้นต้องมีหน้าที่ไปยื่นภาษีด้วยนะ โดยหากพบการหลีกเลี่ยงยื่นภาษี จะมีความผิดและบทลงโทษทางกฎหมาย ดังนี้
1. กรณีไม่ได้ยื่นแบบภาษีภายในเวลาที่กำหนด ต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย นับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันชำระภาษี และมีโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
2. กรณียื่นเสียภาษีไม่ครบจำนวน จะต้องเสียค่าปรับ 1-2 เท่าของจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายทั้งหมด
3. เจตนาละเลยไม่ยื่นแบบภาษีภายในกำหนดเพื่อหนีภาษี จะมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกสูงสุด 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. จงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จเพื่อหนีภาษี จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000-200,000 บาท