โปรโมชั่น

วางแผนภาษี บริษัทห้างร้าน

    ภาษีเงินได้นิติบุคคล เก็บจากกำไรสุทธิแต่ละรอบระยะ  เวลาบัญชี 12 เดือน ของบริษัทต่างๆ ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยที่บริษัทหรือห้างใดมีกำไร ก็ต้องเสียภาษีตามอัตรา 20%

      นอกจากนี้รัฐบาลยังส่งเสริมธุรกิจ SME ให้สามารถ แข่งขันกับกิจการขนาดใหญ่ ซึ่งธุรกิจ SME ที่มีทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 5000000 ล้านบาท จะได้รับการลดหย่อนภาษี ดังนี้

 

กำไร 300,000 บาทแรก                                                                                                 ยกเว้นภาษี

กำไร 300,000-1,000,000 บาท                                                                                          เสียภาษี 15  %

กำไรส่วนที่เกิน 1,000,000  บาท                                                                                       เสียภาษี 20%                                                     

 

                                     ขณะเดียวกัน เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น หรือห้างหุ้นส่วนแบ่งกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน เงินปันผลกับ ส่วนแบ่งกำไรต้องนำไปเสียภาษีอีกทอดหนึ่งจำนวน 10% ด้วยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย อีกทั้งผู้รับยังขอเครดิตภาษี เงินปันผล

ลดภาษีบริษัทห้างร้าน

                                                 การที่เงินได้ของนิติบุคคลแทบทุกประเภทต้องเสียภาษี จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบกิจการต้องหาวิธีประหยัดภาษีให้ได้ผล มากที่สุด นั่นคือ ใช้วิธีทางบัญชีและหลักเกณฑ์ภาษีทำให้ ไม่มีกำไร แต่ด้านอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ ตลอดจน Cash Flow มีกำไรจำนวนมากได้ เช่นเลือกวิธีหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอ แบบรวดเร็ว (Accelerated Depreciation) เพื่อให้มีค่าใช้จ่าย หรือตั้งค้างจ่ายทางภาษีมากกว่าอายุการใช้งานของทรัพย์สิน ซึ่งวิธีที่จะประหยัดภาษีเงินได้นิติบุคคลมีดังนี้

 

1) ประมาณการรายรับ รายจ่าย ขาดทุนล่วงหน้า

 

หากผู้ประกอบกิจการเห็นว่าปีใดจะมีรายรับและกำไร มากขึ้น ก็ควรหารายจ่ายมาตัดทอนให้ผลกำไรทางบัญชีลดลง เนื่องจากบริษัทห้างร้านเสียภาษีตามรอบบัญชี 12 เดือน ผู้ประกอบกิจการจึงสามารถชะลอรายรับจากรอบระยะเวลา บัญชีหนึ่งไปอีกรอบบัญชีหนึ่ง หรือไม่ก็เร่งรายจ่ายให้เร็วขึ้น แม้กฎหมายกำหนดให้บริษัทห้างร้านต้องทำบัญชีหรือคำนวณ ภาษีตามเกณฑ์สิทธิ (Accrual Method) แต่หลักเกณฑ์ทางบัญชีก็ยอมให้มีการตั้งรายรับ-รายจ่าย ค้างรับ-ค้างจ่าย ให้เร็วหรือช้าลงได้พอสมควร ภายในช่วงเวลา 12 เดือนของรอบปีบัญชี โดยที่การวางแผนกำหนดรายรับ รายจ่ายแต่ละรอบบัญชี จะช่วยให้บริษัทห้างร้านเสียภาษีน้อย ลงหรือเสียช้ากว่าเดิม

 

2) บันทึกรายได้ รายจ่ายให้ตรงกับรูปแบบธุรกิจ

 

ผู้ประกอบกิจการต้องบันทึกรายรับรายจ่ายให้ตรงกับ รอบบัญชี ถ้าคลาดเคลื่อนไปอยู่รอบบัญชีอื่น อาจทำให้มี รายรับสูงเกินไป รายจ่ายต่ำเกินไป หรืออาจกลายเป็นรายจ่าย ต้องห้าม ทำให้หักรอบบัญชีที่บันทึกไม่ได้ นอกจากนี้ธุรกิจ ยังแยกแยะออกเป็นหลายประเภท ทั้งด้านผู้ผลิต ผู้รับจ้าง ผู้ให้บริการ พาณิชยกรรม การค้าขาย ผู้ประกอบการจึงต้อง

 

                                 ทำบัญชีและเตรียมเอกสารหลักฐานให้ตรงตามประเภทธุรกิจ เนื่องจากกำหนดเวลารับผิดในทางภาษี (Tax Point) จะเกิดขึ้น ไม่พร้อมกัน เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) Tax Point ของการ ค้าขาย เกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า แต่ด้านการให้บริการ Tax Point มีขึ้นหลังการรับเงินค่าบริการ

 

3)  ปรับปรุงแผนภาษีให้ทันสมัยอยู่เสมอ

 

อย่างที่ผมเคยบอกไว้แล้วว่า แผนภาษี (Tax Planning) ไม่ใช่คัมภีร์พระไตรปิฎกหรือคัมภีร์ไบเบิล ที่ใช้กันนับเป็นพันๆ ปี โดยไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง อีกทั้งปัจจุบันมีการออก กฎหมายใหม่อยู่ตลอดเวลา กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักจัดเก็บภาษีก็ออกกฎ ระเบียบใหม่ๆ อยู่เสมอ แม้แต่กรณีที่มีเรื่องพิพาทขึ้สู่ ศาลภาษี ก็จะมีคำพิพากษาศาลที่กลายเป็นบรรทัดฐานเรื่อง ต่างๆ แผนภาษีจึงต้องปรับให้เหมาะสม ทันสมัย สอดคล้อง กับกฎหมายหรือระเบียบเหล่านี้ รวมทั้งการตีความของศาล อีกด้วย

 

4) ส่งเสริมการลงทุน

              การประกอบธุรกิจสมัยใหม่ ต้องพยายามหาแต้มต่อเพื่อ เอาชนะคู่แข่ง เมื่อมีแต้มต่อก็มีโอกาสจ่ายภาษีน้อยลง เพราะภาษีถือเป็นต้นทุนการประกอบกิจการอย่างหนึ่ง สอดคล้องกับ การที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนให้แก่บริษัทต่างๆ ภาย ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีหลายประการ เช่น (1) ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3-8 ปี ขึ้นอยู่ กับประเภทของกิจการ และขอบเขตการประกอบธุรกิจว่าเป็น เขตส่งเสริมพิเศษหรือไม่ (2) ยกเว้นภาษีเงินปันผล ต่างจากเวลาที่บริษัทจ่าย เงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา ต้องหักภาษีเงินได้ 10% แต่ถ้าเป็นการจ่ายเงินปันผลขณะที่บริษัทได้รับประโยชน์ ยกเว้นภาษีจากบัตรส่งเสริม ไม่ต้องเสียภาษี (3) ยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับการนำเข้าสิ่งของต่างๆ ทั้งส่วนของเครื่องจักร อุปกรณ์ วัตถุดิบ วัสดุจำเป็นในการผลิต ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนการประกอบธุรกิจต่ำลง (4) ยกเว้นภาษีวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก หรือ แม้แต่การนำวัตถุดิบมาผลิตสินค้าจำหน่ายในประเทศ ก็ได้รับ การลดอัตราภาษี การสร้างแต้มต่อทางธุรกิจ ด้วยการขอรับการส่งเสริม การลงทุนและยกเว้นภาษี จึงทำให้อัตราผลกำไร (Profit Margin) ดีขึ้น ผลตอบแทนการลงทุนสูงขึ้น ตลอดจนเจ้าของกิจการ หรือผู้ถือหุ้นก็ได้รับส่วนแบ่งผลกำไรมากขึ้นเช่นกัน

 

5) เก็บรักษาเอกสารทางบัญชีและหลักฐานทางการ ให้ครบถ้วน

 

เพราะปัญหาภาษีที่เกิดขึ้น มักเกี่ยวข้องกับการเสียภาษี ตามรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา รวมถึงการเก็บภาษีย้อนหลัง หากถูกกล่าวหาว่าไม่ทำตามกฎหมาย เสียภาษีไม่ครบ หรือ มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับรายรับ รายจ่าย จึงต้องอาศัยการพิสูจน์ เอกสารหลักฐานทางภาษีและบัญชี คดีที่ขึ้นสู่ศาล แม้ตาม ข้อกฎหมายบริษัทห้างร้านมีเหตุผลที่นำมาอ้างได้ว่าดำเนินการ ไปตามกฎหมายแล้วก็ตาม แต่ถ้าไม่สามารถนำเอกสารหรือ หลักฐานมาพิสูจน์ ก็ต้องแพ้คดีไปโดยปริยาย ด้วยเหตุนี้การเก็บรักษาเอกสารจึงสำคัญมาก โดยเฉพาะ หลักฐานการยื่นและชำระภาษี ใครที่เคยเข้าออกโรงรับจำนำ คงทราบดีว่าเขาดูตัวจำนำเป็นหลัก ไม่สนใจหน้าลูกค้า ใครไม่มี ตัวมาไถ่ของคืนจะไม่รับรู้อย่างเด็ดขาด กรมสรรพากรก็เช่นกัน เมื่อมีข้อโต้แย้งว่าคุณชำระภาษีหรือยัง แล้วไม่มีหลักฐาน ใบเสร็จมาแสดง ก็ถือว่ายังไม่ได้ชำระภาษี ฉะนั้นต้องเก็บ ใบเสร็จเหล่านี้ไว้ในที่ปลอดภัยเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี

 

6) เลือกผู้ทำบัญชีที่ไว้ใจได้

เนื่องจากบัญชีใช้เป็นเอกสารสำหรับคำนวณภาษี มผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อรับรอง นักบัญชี ต่างมีความสามารถหรือคุณวุฒิต่างกันหลายระดับ ผู้ประกอบ กิจการที่ชาญฉลาดจึงต้องเลือกนักบัญชีที่มีคุณสมบัติดังนี้

.มีความสามารถ เข้าใจหลักเกณฑ์ทางบัญชี ใช้ วิชาชีพในทางที่เหมาะสม มีความรู้ด้านเทคนิคใหม่ๆ เพราะ สมัยนี้การค้าขายพัฒนาอย่างรวดเร็ว วิธีการใหม่เกิดขึ้นเสมอ จำเป็นที่นักบัญชีต้องเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ที่ทันสมัย เพื่อนำ มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม

ข. เอาใจใส่การทำงาน เป็นธรรมดาของนักบัญชีที่มี ชื่อเสียงย่อมมีงานมาก การรักษาคุณภาพผลงานจึงเป็นสิ่ง จำเป็น ถ้านักบัญชีรายใดมุ่งแต่จะได้ค่าจ้างแล้วรับงานเกิน ความสามารถ ย่อมไม่อาจทำงานได้อย่างรอบคอบ ผู้ประกอบ กิจการจึงควรเลือกสรรเฉพาะนักบัญชีที่มีเวลา เอาใจใส่ต่อ การทำงานได้อย่างสมบูรณ์

 ค. มีความซื่อสัตย์ เนื่องจากปัญหาสำคัญของนักบัญชี ในเมืองไทย คือการที่สำนักงานทำบัญชีหรือสอบบัญชีจำนวน หนึ่ง รับหน้าที่เสมือนมือปืนในการยื่นแบบแสดงรายการและ เสียภาษี แต่เมื่อรับเงินมาแล้ว กลับไม่นำไปเสียภาษีให้ครบ หรือไม่ชำระเอาเสียเลย บางครั้งยื่นผิดๆ ถูกๆ ผู้ประกอบ กิจการจึงต้องใจใส่ คอยตรวจตราความซื่อสัตย์ของผู้ทำบัญชี พยายามติดตาม ทวงถาม อย่าไปเกรงใจ งานการก็ต้องว่ากัน ตามหน้าที่

ข้อสรุป

บุคคลใดต้องการลดภาษี ควรตระหนักถึงหลักเกณฑ์อีก 4 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. วางแผนกิจการล่วงหน้าว่าจะเป็นประเภทใด ต้อง เสียภาษีอย่างไรบ้าง ในอัตราเท่าใด แล้วทําอย่างถูกต้อง ตามกฎหมาย รวมทั้งมีเอกสารประกอบ เพื่อจะได้ไม่ถูก เรียกเก็บภาษีย้อนหลัง เสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม เพราะเมื่อรวม กันแล้วอาจสูงเป็น 3 เท่าของภาษีที่ต้องเสีย หากศึกษาเอง ไม่ได้ก็ต้องปรึกษาผู้รู้

2. จัดทําเอกสารและบัญชีตามแบบที่ทางราชการกําหนด เนื่องจากภาระการเสียภาษีย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะการลงบัญชี และทําเอกสาร ถ้าทํากิจการอย่างหนึ่งแล้วลงบัญชีอีกอย่างหนึ่ง อาจต้องเสียภาษีแตกต่างกัน

3. เก็บเอกสารหลักฐานไว้อย่างน้อย 10 ปี โดยเฉพาะ แบบยื่นรายการภาษี ใบเสร็จค่าภาษี เพื่อใช้แสดงว่ายืน เสียภาษีครบถ้วน

4. แจ้งข้อขัดข้องและอุปสรรคในการเสียภาษี ไม่ว่าวิธี จัดเก็บ อัตราภาษี วิธีทําบัญชี เพื่อผลระยะยาว เพราะทาง ราชการมักอ้างว่าทําตามกฎหมายที่รัฐสภาเป็นฝ่ายบัญญัติ แม้การเก็บภาษีบางอย่างไม่เป็นธรรมก็ตาม 

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 34,538